ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก ผลงานนักเรียนของ นางสาว วรรณกานต์ มหาสิทธิ์ ได้เลยค่ะ

วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559

บทที่1.สังคมมนุษย์

ปัญหาสังคมไทยและแนวทางการแก้ไข

   แม้ว่าสังคมจะมีความร่วมมือปรับเปลี่ยนและแก้ไข เพื่อให้ได้กลไกทางสังคมดำเนินไปอย่างราบรื่น
 แต่บางครั้งบางกรณีอาจเกิดปัญหาหรือข้อขัดแย้งขึ้นทั้งที่เป็นผลมาจากปัจจัยภายในและจากปัจจัย
ภายนอกของสังคม ซึ่งส่งผลให้การทำงานของกลไกทางสังคมไม่เป็นปกติและ
กลายเป็นปัญหาสังคมขึ้นมา   อ่านเพิ่มเติม

             

บทที่2.วัฒนธรรมไทย

ลักษณะและความสำคัญของวัฒนธรรมไทย

ความสำคัญของวัฒนธรรมไทย
1. วัฒนธรรมเป็นเครื่องสร้างระเบียบแก่สังคม 
     วัฒนธรรม ไทยเป็นเครื่องกำหนดพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมไทย 
     ให้มีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจนรวมถึงผลการแสดงพฤติกรรมตลอดจนถึงการ      สร้างแบบ แผนของสังคมทำให้ความคิด ความเชื่อและค่านิยมของสมาชิก      ให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน อ่าน เพิ่มเติม

บทที่3.พลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก

คุณลักษณะพลเมืองที่ดีของประเทศชาติของสังคมโลกและการมีส่วนร่วมในการเมืองการปกครอง
คุณลักษณะพลเมืองที่ดีของประเทศชาติและสังคมโลก


1. เคารพกฎหมายและปฎิบัติตามกฎระเบียบ  ข้อบังคับของสังคม
เมื่อพลเมืองทุกคนปฎิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคม และบทบัญญัติ

ของกฎหมาย เช่น ไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น หรือไม่กระทำความผิดตามที่
กฎหมายกำหนดก็จะทำให้รัฐไม่ต้องเสียงบประมาณในการป้องกัน  ปราบปราม

และจับกุผู้ที่ระทำความผิดมาลงโทษ อ่าน เพิ่มเติม

บทที่4.สิทธิมนุษยชน

ความหมายและความสำคัญของสิทธิมนุษยชน

        ความหมายของสิทธิมนุษยชน
 1.1 สิทธิมนุษยชน ตามที่เดชา สวนานนท์
 ได้อธิบายความหมายสิทธิมนุษยชนไว้ในหนังสือคำอธิบายศัพท์: รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ว่า สิทธิมนุษยชน หมายถึงสิทธิของมนุษย์ 
ติดตัวมาแต่เกิดของมนุษย์ทุกคน เป็นกระแสโลกอีกกระแสหนึ่ง องค์การ
สหประชาชาติได้ผลักดันให้มวลประเทศสมาชิกให้การยอมรับ รัฐธรรมนูญแห่งราช
อาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ยอมรับในหลักการแห่งการคุ้มครอง
ในสิทธิมนุษยชน  อ่าน เพิ่มเติม

บทที่ 5.ระบอบการเมืองการปกครอง

  ลักษณะการเมืองการปกครอง
ลักษณะทางด้านการเมืองการปกครองของไทยในปัจจุบัน จัดได้ว่าเป็นการปกครองแบบ
ประชาธิปไตยที่มีพระมหาษัตริย์เป็นประมุข มีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด
ของประเทศ พระมหากษัตริย์ในปัจจุบันก็อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ 
ม่ได้มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหมือนสมัยก่อน ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญรัฐบาลมาจาก
พรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้ง อ่านเพิ่มเติม

บทที่6.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง

พรรคการเมือง หมายถึง องค์กรทางการเมืองที่รวมบุคคลที่มีอุดมการณ์เดียวกัน และมีเป้าหมายเพื่อได้อำนาจทางการเมืองในรัฐบาล นโยบายต่าง ๆ ของพรรคการเมือง ส่วนมากจะเป็นผลรวมของความต้องการภายในพรรค ซึ่งเมื่อพิจารณาสมาชิกพรรคแต่ละคนแล้ว อาจจะมีความแตกต่างกันอย่างมากก็ได้ในระบอบรัฐสภา พรรคการเมืองส่วนใหญ่จะมีผู้นำ หรือหัวหน้าพรรค ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถ้าพรรคการเมืองนั้นได้รับเสียงข้างมาก จะรับหน้าที่เป็นผู้นำรัฐบาล และตามธรรมเนียมปฏิบัติ หัวหน้าพรรคที่ได้รับเสียงข้างมากก็มักจะได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี
ความหมายของพรรคการเมืองมีมากมาย แต่โดยส่วนใหญ่มีลักษณะร่วมกันอยู่สามประการ ดังนี้
๑. เป็นกลุ่มบุคคลที่มีการจัดตั้งองค์กรร่วมกัน
๒. มีอุดมการณ์ทางการเมืองร่วมกัน คือ สมาชิกส่วนใหญ่มีความเห็นในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
      ในแนวทางกว้างๆคล้ายๆกัน
๓. มีวัตถุประสงค์ให้ได้มาซึ่งอำนาจมหาชน และใช้อำนาจนั้นดำเนินการหรือบริหารประเทศให้บรรลุ
      วัตถุประสงค์ข้างต้น  อ่านเพิ่มเติม
                           

บทที่7 กฏหมายในชีวิตประจำวัน

กฏหมายในชีวิตประจำวัน


  1. กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคมให้เกิดความสงบเรียบร้อย โดยกำหนดว่าการกระทำใดเป็นความผิดอาญาและกำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน
2. ลักษณะที่สำคัญของกฎหมายอาญา คือเป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้งและไม่มีผลบังคับย้อนหลังที่เป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด
3. โทษทางอาญามี 5 ชนิด คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับและริบทรัพย์สิน4. การกระทำความผิดทางอาญามีบางกรณีที่กฎหมายยกเว้นโทษและยกเว้นความผิด
5. เด็กและเยาวชนกระทำความผิดอาจได้รับโทษต่างกับการกระทำความผิดของผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กและเยาวชนเป็นผู้อ่อนเยาว์ อ่านเพิ่มเติม